Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Awards Publications IOD Shop About IOD
3/Apr/2025
Online Director's Briefing 3/2025: Employee Wellbeing and Motivation after Crisis: การดูแลสภาพจิตใจของพนักงานหลังแผ่นดินไหว

สำหรับท่านที่ลงทะเบียนร่วมงาน Online Director's Briefing 3/2025: Employee Wellbeing and Motivation after Crisis: การดูแลสภาพจิตใจของพนักงานหลังแผ่นดินไหวไม่ทัน
🎥 ท่านสามารถรับชมได้ทาง Facebook Live: @ThaiIOD

 

✏️สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากงาน Online Session หัวข้อ "Employee Wellbeing and Motivation after Crisis: การดูแลสภาพจิตใจของพนักงานหลังแผ่นดินไหว"
🙍‍♂️ ผศ.นพ. ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ - ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
🔷 หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ความรู้สึก “ไม่มั่นคง” เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกคน เนื่องจากระบบประสาทของมนุษย์ทำหน้าที่ในการปกป้องเพื่อความปลอดภัย ดังนั้น ความรู้สึกดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด
🔷 ในขณะที่พนักงานยังคงรู้สึกหวาดกลัว องค์กรไม่ควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทันที แต่ควรมุ่งมั่นสร้างความมั่นใจให้พนักงานก่อน โดยการตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานที่ทำงานปลอดภัย และการจัดให้มีการบำรุงรักษาอาคารให้เรียบร้อย หรือการมีนโยบายจาก HR ที่ชัดเจนจะช่วยให้พนักงานรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยอีกครั้ง
🔷 ในช่วงแรก ระบบประสาทอาจตีความเหตุการณ์ต่างๆ ในเชิงลบ แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างบรรยากาศเชิงบวก โดยการจัดกิจกรรมเช่นงานเลี้ยง เพื่อสร้างความรู้สึกว่าพนักงานได้รับการดูแลและปกป้อง และสามารถกลับมารู้สึกปลอดภัยอีกครั้ง
🔷 ในคืนแรกหลังเกิดเหตุการณ์ พนักงานอาจประสบกับอาการนอนไม่หลับหรือความรู้สึกหวาดระแวง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่สำคัญคือการติดตามอาการในระยะยาว 1-3 เดือน หลังเหตุการณ์ ว่าจะมีอาการใดๆ ที่ยังคงส่งผลต่อสภาพจิตใจหรือไม่
🔷 หากผ่านไป 1-3 เดือนแล้ว พนักงานยังไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อาจมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งบางคนอาจพยายามหาทางออกด้วยการใช้แอลกอฮอล์เพื่อบรรเทาความเครียด
🔷 ภาวะ PTSD อาจค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 3-5 ปี แต่อาจทำให้ระบบประสาทของพนักงานยังคงไวต่อสิ่งเร้าอยู่ และหากพนักงานยังคงรู้สึกวิตกกังวลหรือมีอารมณ์ไม่ปกติอย่างต่อเนื่อง การใช้ยาช่วยบรรเทาอาการอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง
🔷 ในกรณีที่พนักงานยังคงมีอารมณ์วิตกกังวลหรือความเครียดสะสม HR อาจต้องใช้วิธีสังเกตและให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดหาที่ปรึกษาทางจิตแพทย์ให้กับพนักงาน
🔷 การไปพบจิตแพทย์สามารถทำได้ หากคนๆนั้นไม่ได้มีภาวะผิดปกติ จิตแพทย์จะเป็นผู้บอกให้พนักงานทราบและแนะนำแนวทางต่อไป
🙍‍♂️ คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ - Chief People Officer, SCB
🔷 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว สิ่งที่พนักงานคาดหวังจากองค์กรมีดังนี้:
▪️ ความชัดเจน: การสื่อสารที่โปร่งใส เช่น นโยบายการไม่ให้เข้าอาคารเพื่อความปลอดภัย และการแจ้งเวลาที่ชัดเจนว่าเมื่อไรพนักงานสามารถกลับเข้าอาคารได้
▪️ ความมั่นใจ: เช่น การปิดอาคารเพื่อให้วิศวกรทำการตรวจสอบจนมั่นใจว่าอาคารไม่เกิดความเสียหายทางโครงสร้าง
▪️ กำลังใจ: เนื่องจากพนักงานหลายคนอาจต้องอพยพจากที่พักอาศัย HR จึงควรมีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในด้านนี้เพื่อให้พนักงานรู้สึกได้รับการดูแล
🔷 แนวทางการปฏิบัติของ HR ที่เหมาะสมในช่วงวิกฤตคือการตอบสนองอย่าง ทันท่วงที / รวดเร็ว และ ยืดหยุ่น พร้อมทั้งการแสดง ความเห็นอกเห็นใจ โดยเข้าใจความรู้สึกของพนักงาน
🔷 บทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์วิกฤตครั้งนี้คือ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการดูแล Well-Being ของพนักงานเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลัก เพราะสิ่งนี้จะช่วยสร้าง Resilience ให้กับองค์กรในระยะยาว
🔷 Well-Being ครอบคลุมทั้งในด้าน Health Well-Being, Financial Well-Being, Cultural Well-Being, และ Spiritual Well-Being ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงและความสุขให้กับพนักงาน
🔷 Cultural Well-Being คือ การที่ผู้บริหารตัดสินใจโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานเป็นอันดับแรกและมีความรับผิดชอบในการดูแล
🔷 ผู้นำต้องเชื่อมั่นว่า Resilience และ Well-Being เป็นหนึ่งใน Competitive Advantage ขององค์กร และต้องทำตัวเป็น Role Model ในการส่งเสริมเรื่องนี้
🔷 นอกจากนี้ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม Mindfulness เพื่อให้พนักงานมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจที่ดีทั้งในช่วงเวลาปกติและในภาวะวิกฤต
🔷 หัวใจสำคัญในการเสริมสร้างกำลังใจให้กับพนักงาน คือ การสร้าง Coaching Culture ซึ่งหมายถึงการที่ผู้จัดการและพนักงานมีเวลาพูดคุยเกี่ยวกับความกังวลใจทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่พนักงานอาจยังมีความวิตกกังวลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว การพูดคุยกับพนักงานจะช่วยคลายความกังวลและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
🔷 นอกจากนี้ องค์กรต้องให้ความสำคัญในการ สังเกตอารมณ์ของพนักงาน โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่อาจมีพนักงานบางคนแสดงอาการซึมเศร้า SCB จึงได้จัดให้มี สายด่วนนักจิตวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือพนักงานในเวลาที่ต้องการ
🔷 สิ่งที่องค์กรควรดำเนินการต่อจากนี้ ได้แก่:
▪️ ผู้บริหารควรทบทวน การดูแล Well-Being ของพนักงานในช่วงวิกฤตครั้งนี้ ว่าได้ดำเนินการในระดับที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพียงใด
▪️ การให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลสำคัญ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต
▪️ องค์กรควรมี ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น จากพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดการวิกฤตในอนาคต
▪️ ผู้บริหารและ HR ควรนัดพูดคุยกันเพื่อตรวจสอบว่า สิ่งใดที่ได้ดำเนินการได้ดี และสิ่งใดที่ยังต้องปรับปรุงในการจัดการวิกฤตที่ผ่านมา รวมถึงการพิจารณาว่าแผน BCP ที่ได้จัดเตรียมไว้ครอบคลุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่หรือไม่
🙍คุณสุดคนึง ขัมภรัตน์ - นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย, PMAT
🔷 ตามทฤษฎีของ Maslow ความปลอดภัยของพนักงานต้องถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ซึ่ง HR ต้องให้การสนับสนุนทั้งในด้านชีวิตและการทำงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย โดยต้องคำนึงถึงหลัก Diversity เนื่องจากพนักงานแต่ละคนกำลังเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น พนักงานบางคนต้องทำหน้าที่เป็นแม่ ในขณะที่บางคนอาจต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย
🔷 HR จำเป็นต้อง เสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวเอง ก่อนที่จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ โดยการมีสติและดูแลจิตใจของตัวเองก่อน เพราะ HR สามารถช่วยพนักงานได้ทั้งในด้าน นโยบาย (Policy), การปฏิบัติ (Practice) และการให้คำแนะนำที่เหมาะสม
🔷 สิ่งที่ HR สามารถสนับสนุน Well-Being ของพนักงานใน 7 ด้าน ได้แก่:
▪️ Physical Well-Being: การรณรงค์ให้พนักงานเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี
▪️ Emotional and Spiritual Well-Being: การใช้สติ หยุดคิด ฝึกลมหายใจเพื่อการดูแลอารมณ์และจิตใจ
▪️ Social and Environmental Well-Being: การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการมี Well-Being ที่ดี
▪️ Financial and Occupational Well-Being: การสนับสนุนให้พนักงานสามารถกลับมาทำงานได้ในสภาวะที่ดีที่สุด เช่น การประกาศให้มีนโยบาย Work from Anywhere
🔷 บทบาทของ HR ต่อจากนี้คือการ ผลักดันเรื่อง Well-Being ให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของผลกระทบที่มีต่อพนักงาน และพัฒนาผู้นำในด้าน Empathy, Support และ Resilience เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยืดหยุ่นให้กับทั้งองค์กรและพนักงานในระยะยาว
 
 




Seminars & Events Previous Next
 
Terms of Use | Privacy Statement | Site Map | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
EGAT SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GSB GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha Tisco TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CNBC CG THailand