Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
กรรมการไทยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางธุรกิจ มองเศรษฐกิจ การเมืองดีขึ้น แต่คอร์รัปชันยังเป็นอุปสรรค

File Attachment(s)
Reserve for IOD Member Only
Press Release
[ 217.33 kb. ]

กรรมการไทยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางธุรกิจ มองเศรษฐกิจ การเมืองดีขึ้น แต่คอร์รัปชันยังเป็นอุปสรรค 
 

18 มีนาคม 2558 – ดร. บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อานวยการ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เปิดเผยว่าผลสารวจความคิดเห็นของกรรมการไทย ปี 2558 แสดงสัญญาณที่ดีว่ากรรมการให้ความสาคัญกับภาพระยะยาวและความยั่งยืนของธุรกิจมากขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอีก 1-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าในปัจจุบันจะให้ความสาคัญกับเรื่องตัวเลขทางการเงิน และการกากับดูแลประเด็นระยะสั้นมากกว่าก็ตาม กรรมการไทยส่วนใหญ่มองว่า เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย แต่อุปสรรคสาคัญยังเป็นเรื่อง การทุจริตคอร์รัปชัน สาหรับเรื่องการกากับดูแลของภาครัฐนั้น กรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า นโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันมีส่วนสนับสนุนการดาเนินธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง และมองว่า ประเด็นที่รัฐบาลต้องให้ความสาคัญสาหรับการพัฒนาประเทศ ได้แก่ การปฏิรูปการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน และธรรมาภิบาลของภาครัฐ

ปีนี้เป็นปีแรกที่สถาบัน
 IOD ริเริ่มจัดทาการสารวจความคิดเห็นของกรรมการไทยต่อประเด็นกรรมการ การกากับดูแลกิจการ (CG) แนวโน้มเศรษฐกิจ และกฎระเบียบภาครัฐขึ้น เพื่อประเมินมุมมองของกรรมการทั้งในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ การกากับดูแลกิจการ เศรษฐกิจ และนโยบายการกากับดูแลของภาครัฐ โดยทาการสารวจระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2558 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2558 มีกรรมการที่ร่วมแสดงความคิดเห็น 436 คน ซึ่งมีความหลากหลายทั้งด้านประสบการณ์ของกรรมการ ขนาดของกิจการและประเภทของอุตสาหกรรม ทาให้ข้อมูลที่ประเมินสามารถสะท้อนมุมมองและความคิดเห็นในประเด็นข้างต้นของกรรมการไทยได้เป็นอย่างดี

จากผลสารวจด้านการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการไทยและการกากับดูแลกิจการ (
CG) พบว่า ปัจจุบันกรรมการไทยยังคงให้ความสาคัญกับการพิจารณาฐานะทางการเงินเป็นหลัก โดยจะมีการหารือกันเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง แต่ให้ความสาคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารน้อย ทั้งในเรื่องการวางแผนสืบทอดตาแหน่ง CEO และค่าตอบแทนผู้บริหาร อย่างไร ก็ตาม กรรมการไทยมองว่า การทาหน้าที่ในการกากับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการใน 1-3 ปีข้างหน้า ต้องให้ความสาคัญกับ การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นาเชิงรุกมากขึ้น โดยเน้นเรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์ในการดาเนินธุรกิจเป็นหลัก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการดาเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีที่คณะกรรมการบริษัทไทยให้ความสาคัญกับภาพระยะยาวของธุรกิจมากขึ้น

กรรมการยุคใหม่ ไม่ได้มีบทบาทแค่การพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่ฝ่ายจัดการเสนอขึ้นมาเท่านั้น แต่ต้องพร้อมที่จะสวมบทบาทผู้นาเชิงรุก ที่สามารถให้ข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมแก่ฝ่ายจัดการในการดาเนินการเรื่องต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าตามกลยุทธ์ที่กาหนดไว้ด้วย” ดร.บัณฑิต กล่าว

สำหรับประเด็นเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ในการกากับดูแลของภาคทางการ และการให้ความสนับสนุนของภาครัฐ
 ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการดาเนินธุรกิจของภาคเอกชนนั้น ร้อยละ 58 เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันมีส่วนสนับสนุนการดาเนินธุรกิจอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ขณะที่ร้อยละ 29 มองว่า มีส่วนสนับสนุนการดาเนินธุรกิจน้อย ส่วนประเด็นเรื่องความเข้มงวดของกฎเกณฑ์ของภาครัฐนั้น ร้อยละ 49 มองว่าภาครัฐมีการออกกฎระเบียบมากเกินไป ทาให้ไม่เอื้อต่อการดาเนินธุรกิจ ขณะที่ร้อยละ 42 มองว่าความเข้มข้นของกฎระเบียบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว

นอกจากนี้กรรมการไทยเห็นว่า รัฐบาลควรให้ความสาคัญกับการดาเนินนโยบายหลัก 3 ด้าน เพื่อการพัฒนาประเทศ คือ 1. การสร้างระบบธรรมาภิบาลของภาครัฐให้มีความเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน 2. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ 3. การปฏิรูปการศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในการรองรับกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (
AEC)

ด้านมุมมองของกรรมการไทยที่มีต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ กรรมการไทยร้อยละ 46 มองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นเล็กน้อยเทียบกับปี 2557 ขณะที่ร้อยละ 31 มองว่า เศรษฐกิจจะทรงตัว และอีกร้อยละ 18 เห็นว่า จะแย่ลงเล็กน้อย ส่วนมุมมองต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่กรรมการไทยให้ความสาคัญและติดตาม เพราะเป็นภาวะแวดล้อมสาคัญที่กระทบธุรกิจนั้นพบว่า ร้อยละ 42 มองสถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มจะดีขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน และร้อยละ 11 มองแนวโน้มจะดีขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 29 คิดว่าจะทรงตัว

แม้ว่ากรรมการไทยมองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะเติบโตดีขึ้นจากปีก่อน แต่กรรมการยังคงกังวลกับปัญหาที่เป็นอุปสรรคสาคัญที่สุดต่อการดาเนินธุรกิจ คือ การทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ 54) การขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพหรือมีทักษะที่จาเป็น (ร้อยละ 48) และการมีกฎระเบียบมากเกินไป รวมถึงมีขั้นตอนการติดต่อกับทางการที่ยุ่งยาก (ร้อยละ 36) ตามลาดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินการของภาครัฐที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อรักษาและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
คุณพิษณุ พรหมจรรยา
ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (
IOD)
โทร 081 979 4776
 

 

 

 

 

 

 

 



Researches & Surveys Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand