Director Need To Know การผูกขาดทางการค้า
Director Need To Know การผูกขาดทางการค้า
รอบปี 2564 ที่ผ่านมา...เรื่องใหม่อะไร ? กรรมการบริษัทควรรู้
“บริษัทแม่” รายหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ไทยมี “บริษัทลูก” ค้าขายอาหารทะเลยี่ห้อ Chicken of the Sea ในสหรัฐอเมริกา ... ในปี 2560 มี Legal Issue ถูกกล่าวหาเรื่อง “แข่งขันทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรมในตลาดปลาทูน่า” (Unfair Trade Competition) ตามด้วย “ผู้บริโภค” ที่เป็นลูกค้าในอเมริการ่วมกัน “ดำเนินคดีแบบกลุ่ม” (Class Action) เรียกร้องค่าเสียหายจาก “บริษัทลูก” ใน US สำหรับเรื่องนี้
ในปี 2564 บริษัทนี้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า “ข้อพิพาททางกฎหมาย” ดังกล่าวสามารถเจรจาตกลง “ระงับข้อพิพาท” เพื่อยุติคดี “ผูกขาดทางการค้า” ทั้งหมด (หลายคดี) ได้สำเร็จ
สำหรับประเทศไทยไม่ถือว่าใหม่นักกับกฎหมาย “ต่อต้านการแข่งขันทางการค้า” เรื่องนี้... By Law ไทยเรามีกฎหมายนี้ในปี 2542 แต่ใช้บังคับไม่ได้ (Unenforceable Law) เพราะขาดการ “ขยายผลของกฎหมาย” ไม่มี “คำนิยาม” ของ “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” ที่มีความหมายเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Meaning) อยู่เบื้องหลัง…By Practice จึงมีเพียงเรื่องร้องเรียนของ ”สินค้าค่ายดัง” หลายประเภทต่อคู่แข่งทางการค้าในตลาดเดียวกัน เช่น Beer รถมอเตอร์ไซค์ โรงหนัง แต่ไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายให้เห็นผลคำวินิจฉัยนี้จากราชการ (Regulator) และศาล
ต่อมากฎหมายนี้ประกาศใช้ใหม่ในปี 2560 เน้น “ต่อต้านการผูกขาด/ลดการแข่งขัน/จำกัดการแข่งขัน” (Anti-Trust Law) เริ่มใช้บังคับในไทยมาได้ระยะหนึ่งแต่ยังไม่แข็งขันเทียบเท่ากับต่างประเทศ...โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ใช้กันมานานเป็นร้อยปี (Sherman Antitrust Act of 1890) จนถือเป็น “คำแสลง” สำหรับ Microsoft ที่เคย “ปวดหัว “ กับกฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 1992 (พ.ศ. 2533) และมีคดีความกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาตลอด 10 ปีหลังจากนั้นตั้งแต่ระดับ Free Trade Competition ไปจนถึงศาลอีก 20 มลรัฐเกี่ยวกับการผูกขาด Windows Software ในการว่าจ้างผลิต (OEM) Personal Computer และ Microsoft Products อื่น ๆ ที่ต้องนำ Internet Explorer (IE Browser) ของ Windows ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) ด้วย...ซึ่งข้อพิพาททางกฎหมายแบบเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นกับ Microsoft มาก่อนแล้วใน EU และในที่สุด Microsoft ได้บรรลุ “ข้อตกลงทางกฎหมาย” กับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาเพื่อยุติข้อพิพาททางกฎหมายได้ในปี 2001 (พ.ศ. 2544)
Director Need To Know
“กฎหมายต่อต้านการผูกขาด” นี้ เคยมี “คำถามสำคัญ” จากผู้ประกอบการหลายรายในไทยว่า (1) กฎหมายเป็น “อุปสรรค” ของผู้ประกอบการในไทย หรือ (2) กฎหมายเป็นการสร้าง “สมดุลทางธุรกิจ” (Eco-System Balancing) เพื่อ “ความคุ้มครอง” ต่อ “ผู้มีส่วนได้เสีย” (Stakeholder) ทั้งหลายใน “ระบบเศรษฐกิจ” ทั้ง “คู่แข่ง” และ “คู่ค้า” ตลอดจน “ผู้บริโภค” ที่เป็น “ลูกค้า” อันจะได้ผลกระทบจการการผูกขาด (Monopoly) หรือการจำกัดการแข่งขันทางการค้า (Limited Trade Competition)
ในปี 2565 เชื่อว่ากรรมการบริษัทไทย...ยังต้อง “เรียนรู้” (Director Awareness) กฎหมายต่อต้านการผูกขาดไปอีกระยะเวลาหนึ่งเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ก่อนไทยนานหลายปี...โดยเฉพาะ “กรรมการบริษัท” ที่ (1) เตรียม “ซื้อขายกิจการ” (M&A) (2) เตรียม “ร่วมทุน” (Joint Venture) (3) เตรียม “ปรับโครงสร้างธุรกิจ” (Business Restructure) จาก “กิจการหนึ่ง” ไปสู่ “อีกกิจการหนึ่ง” หรือ (4) เตรียมขยายกิจการไปต่างประเทศ ...และมี “ความเสี่ยงทางกฎหมาย” (Legal Risk) ที่เข้าสู่ความหมายของ “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” (Market Dominance) ที่จะต้อง “ปฏิบัติตามกฎหมาย” (Legal Compliance) และ “อาจ” กระทบต่อธุรกิจหลายประการ
ผลของความเสี่ยงทางกฎหมาย (Legal Risk & Compliance) ในเรื่องนี้ไม่เพียงแค่ Liabilities ที่ “กรรมการบริษัท” ต้อง “กำกับดูแล” ไม่ให้บริษัททำผิดกฎหมาย...แต่บริษัทอาจ “ถูกจำกัดสิทธิ” ในการทำธุรกิจบางประการ...และ “ความผิดตามกฎหมาย” ที่มี “โทษทางแพ่ง” และ “โทษทางอาญา” ตามด้วย “โทษทางปกครอง” ที่กระทบต่อกิจการ กระทบต่อบริษัท และกระทบต่อกรรมการบริษัทด้วย
ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office
|