Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
แนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ

การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ (Board Engagement) เป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในแวดวงกรรมการทั่วโลก ในฐานะที่เป็นกลไกสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กร “ต้องมี” มิใช่ “ควรมี” เพื่อที่จะสามารถขับเคลื่อนกิจการให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันได้อย่างมั่นคง ดังนั้น การจัดให้มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการพัฒนา-ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกรรมการตลอดช่วงระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งจึงเป็นสิ่งที่คณะกรรมการควรให้ความสำคัญ ตลอดจนสื่อสารทำความเข้าใจ และร่วมประเมินพฤติกรรมเหล่านั้นอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการแต่ละท่านเป็น “แบบอย่างที่ดี” ของกันและกัน

คู่มือฉบับนี้จะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเอกสารฉบับนี้ จะช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการในการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลกิจการอย่างเหมาะสม โดยภายในเล่มจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. หลักการสำคัญ (Key Principles) และ 2. แนวปฏิบัติ (Guidelines)

หลักการสำคัญ (Key Principles) ของแนวปฏิบัติที่ดีฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.     การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ คือกลไกในการดึงเอาศักยภาพภายในของกรรมการแต่ละท่านออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดพลวัติ (Dynamics) และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ที่จะต้องกำกับดูแลองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาว มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.     การมีส่วนร่วมของกรรมการจะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากคณะกรรมการสามารถสร้างวัฒนธรรม (Boardroom Culture) และบรรยากาศที่มุ่งเน้นการประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทั้งระหว่างกรรมการด้วยกันเอง ตลอดจนกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) และฝ่ายจัดการ พร้อมอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลองค์กรอย่างเหมาะสม เพียงพอ

3.     แนวคิดในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ มิได้มุ่งผลักดันให้กรรมการแต่ละท่าน “อุทิศเวลา” ให้กับการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้นเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมให้มี “ความลุ่มลึก” มากขึ้นด้วย เพื่อให้คณะกรรมการสามารถอุทิศความรู้-ความสามารถในการกำกับดูแลกิจการได้อย่างเต็มที่ ภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด

4.     คณะกรรมการพึงมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับ “การประเมินระดับการมีส่วนร่วมของกรรมการ” อย่างสม่ำเสมอ โดยพิจารณาจากประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

4.1      คณะกรรมการมีความเชื่อในเป้าหมายหลัก (Purpose) ขององค์กรมากน้อยเพียงใด

4.2      กลไกที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพหรือไม่

4.3      คณะกรรมการเข้าใจความคาดหวังต่างๆ ที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ดีพอแล้วหรือยัง

4.4      กระบวนการสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพเพียงใด

4.5   คณะกรรมการมีกลไกในการดึงศักยภาพของกรรมการแต่ละท่านมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือไม่

5       การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยทัศนคติที่ถูกต้องตรงกันระหว่างสมาชิกกรรมการ ตลอดจนประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และฝ่ายจัดการ ถึง “คุณค่า” ของการมีส่วนร่วมฯ ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยยกระดับมาตรฐานของการกำกับดูแล อันนำไปสู่ความสำเร็จและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

6       กุศโลบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของกรรมการนั้น มิใช่การจัดให้มีขึ้นแบบ “ครั้งเดียวจบ” หากแต่สามารถจัดให้มีขึ้นได้ตลอดช่วงของการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ โดยแฝงอยู่ในทุกๆ มิติตลอดช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่งกรรมการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสรรหา การปฐมนิเทศ การแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ในคณะกรรมการชุดย่อย การร่วมพัฒนากลยุทธ์ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง การประชุมคณะกรรมการ  ไปจนถึงการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่และการพัฒนากรรมการ

 
ทั้งนี้ สาระสำคัญในส่วนของแนวปฏิบัติ (Guidelines) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

 



Best Practices Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand