Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
#GRCGood&Cautious: Working Principles of PTTEP EP.2

 

#GRC ดีและรอบคอบ: หลักการดำเนินงานในแบบ ปตท.สผ. EP.2

 

ในฉบับที่แล้ว บทความเรื่อง “#GRC ดีและรอบคอบ: หลักการดำเนินงานในแบบ ปตท.สผ. EP.1” ได้กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานด้าน GRC ของ ปตท.สผ. โดยเริ่มจากการกำหนดให้ GRC เป็นส่วนหนึ่งของ SD Framework รวมถึงการกำหนดเป้าหมาย ที่สำคัญและกลยุทธ์ด้าน GRC เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้าน GRC ของ ปตท.สผ. และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในฉบับนี้ จะขอพาท่านผู้อ่านไปสำรวจตัวอย่างการดำเนินงานด้าน GRC ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ว่ามีส่วนสำคัญอย่างไรในการเสริมสร้างให้ GRC กลายเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งขององค์กรและบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้ในที่สุด

 

ปตท.สผ. มีการกำหนดเป้าหมายที่สำคัญด้าน GRC ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) การเพิ่มระดับ GRC Maturity Level ไปสู่ระดับสูงสุด และ 2) การเป็นองค์กรต้นแบบด้าน GRC ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนไทย นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังได้จัดทำ GRC Roadmap ขึ้น ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยมี Key Focus ของการดำเนินงานใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Process & Technology, People และ Society ซึ่งแต่ละองค์ประกอบจะมีแผนการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อาทิเช่น

 

1.          ด้าน Process & Technology : การพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้

§  ทบทวนความเป็นไปได้ในการบูรณาการกิจกรรมและกระบวนการทำงานด้าน Assurance ให้มีความสอดคล้องกัน
ไม่ซ้ำซ้อน และครบถ้วน

§  พัฒนาระบบ Risk Management ในรูปแบบ Chatbot โดยครอบคลุมถึงการแนะนำความเสี่ยง การค้นหาข้อมูล
ความเสี่ยงได้ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการไม่พบปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงอันเนื่องมาจากมีความเสี่ยงที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ (
No surprise risk) พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงการรายงานข้อมูลความเสี่ยงกับรายงานด้าน Assurance
อื่น ๆ ได้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี
2565

§  พัฒนา GRC One Digital System ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมการรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ GRC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรายงานข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย ทำให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลทางด้าน GRC อย่างทันท่วงทีและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญได้

 

2.          ด้าน People : การสร้างวัฒนธรรม GRC

§  ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามหลักการ GRC ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยริเริ่มให้มีการประเมินผลการดำเนินงานด้าน GRC ภายในองค์กร (Internal Maturity Assessment) สำหรับโครงการในต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาแผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

§  ดำเนินการสร้างวัฒนธรรม GRC ในองค์กรผ่านการสื่อสารและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลักการ GRC ไปปรับใช้ในการทำงาน โดยมีข้อความสื่อสารหลัก คือ “GRC ดีและรอบคอบ” ซึ่งช่วยให้พนักงานจดจำได้ง่ายขึ้น

 

3.          Society: ส่งเสริมการดำเนินงานด้าน GRC ไปยังสังคมภายนอก

§  เผยแพร่การดำเนินงานด้าน GRC ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Explorer’s Journal และเว็บไซต์ของ ปตท.สผ. เป็นต้น

§  จัดทำโครงการสำรวจความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียต่อการเป็นองค์กรต้นแบบด้าน GRC ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนไทย (Stakeholders Engagement Survey) เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นองค์กรต้นแบบได้

§  นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่ค้า ผู้ร่วมทุน มีการดำเนินงานตามหลักการ GRC เช่นเดียวกันกับ ปตท.สผ. ตัวอย่างเช่น ส่งเสริมให้คู่ค้าทำความเข้าใจและรับทราบเรื่องจริยธรรมธุรกิจของ ปตท.สผ. ผ่านแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า (PTTEP Vendor Sustainable Code of Conduct) เชิญชวนคู่ค้าให้เข้าร่วมอบรม
e-Learning และร่วมทำแบบทดสอบเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งส่งหนังสือแจ้งผู้ร่วมทุนเพื่อรับทราบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของ ปตท.สผ. ด้วย

 

บทบาทของคณะกรรมการบริษัทในด้าน GRC

คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานด้าน GRC ของ ปตท.สผ. โดยในระยะที่ผ่านมา มีตัวอย่างบทบาทของคณะกรรมการบริษัทในด้าน GRC ดังนี้  

·       ให้คำแนะนำและอนุมัติกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Framework) โดยกำหนดให้ GRC เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่ง GRC สะท้อนถึงความเป็น "คนดี" ในการดำเนินธุรกิจ

·       อนุมัติ GRC Roadmap ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้าน GRC เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมาย GRC ที่กำหนดไว้ได้

·       กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานด้าน GRC รวมถึงให้คำแนะนำต่าง ๆ ผ่านคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมที่มีการรายงานให้คณะกรรมการทราบ เช่น การพัฒนาระบบ GRC One Digital System ผลการจัดทำ GRC Maturity Assessment และ Stakeholders Engagement Survey รวมถึงความคืบหน้า ในการปิด Gap ที่ได้จากการทำการประเมินต่าง ๆ ข้างต้น

·       จัดให้มีการอัพเดทความรู้ใหม่ ๆ ด้าน GRC ให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ เช่น Strategic Risk Management, Learning from the World Economic Forum และสรุปสถานการณ์ดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) เป็นต้น

ปตท.สผ. มีการดำเนินงานด้าน GRC อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และสามารถวัดผลได้ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานด้าน GRC ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง GRC ให้เป็นวัฒนธรรมในองค์กร การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน และการส่งเสริมหลักการ GRC ไปยังสังคมภายนอก ภายใต้การกำกับดูแลและคำแนะนำของผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่า ปตท.สผ. จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ และเชื่อมั่นว่า เมื่อ ปตท.สผ. มีการดำเนินงานที่ดี รอบคอบ บนรากฐานที่แข็งแกร่ง และคำนึงถึงประโยชน์ร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ แล้ว ปตท.สผ. จะสามารถส่งมอบคุณค่าและสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคมโดยรวมได้ในที่สุด (From We to World)

 

 

 



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand