รายงานผลสำรวจ Board Diversity ของบริษัทจดทะเบียนไทย 2556
File Attachment(s)
Reserve for IOD Member Only |
|
|
หลักการกำกับดูแลกิจการของ Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้กล่าวถึงแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการว่า ควรคานึงถึงคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลที่จะสามารถสร้าง ความสมดุลและเสริมคุณภาพของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะได้ ในขณะที่ Global CG Principles ของ International Corporate Governance Network (ICGN) ได้กล่าวว่า คณะกรรมการควรประกอบด้วยบุคคลที่มีทักษะ ความสามารถ ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนคติที่ต่างกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ความหลากหลายของคณะกรรมการ หรือ Board Diversity ได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจจัยสาคัญปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและการทางานของคณะกรรมการ และส่งผลต่อ การดาเนินงานที่ดีขึ้นของบริษัทในภาพรวม ทั้งนี้ หลักการข้างต้นไม่ได้ให้คาจากัดความของ Board Diversity ดังนั้น บริษัทสามารถกาหนดคาจากัดความของ Board Diversity ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของบริษัท โดย Board Diversity สามารถหมายถึง เพศ อายุ ความรู้และประสบการณ์ของกรรมการ เป็นต้น
ปัจจุบันรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศต่างให้ความสาคัญต่อ Board Diversity โดยส่วนใหญ่เน้นนโยบายสนับสนุน Gender Diversity ทั้งในรูปแบบข้อบังคับและแนวปฏิบัติที่ดี และสาหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักการกากับดูแลกิจการที่ดีสาหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 โดยในส่วนแนวปฏิบัติที่ดี เรื่องโครงสร้างคณะกรรมการได้กล่าวถึงการพิจารณา Board Diversity เช่นกัน
จากความสาคัญของ Board Diversity สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association: IOD) ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทสาคัญในการส่งเสริมการกากับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน จึงได้ดาเนินการสารวจแนวปฏิบัติและความคิดเห็นเกี่ยวกับ Board Diversity ของบริษัทจดทะเบียนในไทย เพื่อศึกษาความสอดคล้องของเรื่องดังกล่าวกับแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงศึกษาแนวโน้ม Gender Diversity ในไทย โดยได้รวบรวมข้อมูลจากรายงานประจาปี 2554 และแบบรายการข้อมูลประจาปี 2554 (แบบ 56-1) ของ 135 บริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalisation) สูงสุด 15 อันดับแรก ในปี 2554 ของแต่ละ 9 กลุ่มธุรกิจ และใช้แบบสารวจความคิดเห็นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับ Board Diversity ของกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียน
รายงานฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใน ส่วนที่ 1 จะกล่าวถึง Board Diversity ในต่างประเทศ จากนั้นในส่วนที่ 2 จะแสดงผลสารวจเรื่อง Board Diversity ของบริษัทจดทะเบียนในไทย โดยในส่วนที่ 2.1 จะสรุปข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในปัจจุบันของ 135 บริษัทจดทะเบียน และความคิดเห็นเกี่ยวกับ Board Diversity ของ 194 ผู้ตอบแบบสารวจจะถูกสรุปไว้ในส่วนที่ 2.2
|