Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
การลาออกของ CEO : สิ่งที่คณะกรรมการต้องเผชิญในการวางแผนหาผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO

การลาออกของ CEO : สิ่งที่คณะกรรมการต้องเผชิญในการวางแผนหาผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO

 

ช่วงเวลาแห่งการบอกลา CEO จำนวนมากกำลังจะเริ่มต้นขึ้น

ในยุคที่ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของสภาวะแวดล้อมทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสุขภาพ เป็นหนึ่งช่วงเวลาที่ไม่มั่นคงที่สุดเท่าที่โลกใบนี้เคยเผชิญ และอาจฟังดูประหลาดถ้าจะบอกกับพวกคุณว่า เราได้อยู่กันอย่างสงบก่อนความวุ่นวายครั้งใหญ่นี้จะบังเกิดขึ้น

แต่นั่นคือสิ่งที่เราทุกคนกำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ การบอกลา CEO และผู้บริหารระดับสูงกำลังจะเริ่มต้นขึ้น ในจำนวนที่มากเสียด้วย

เหตุผล? ก็เพราะว่ามันได้เริ่มขึ้นแล้วยังไงละ และการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำการปั่นป่วนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความเป็นผู้นำและมีความสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่จะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

 

เวทีพร้อมแล้ว

กว่า 25ปี ที่การเปลี่ยน CEO มีอัตราที่พุ่งสูงขึ้น เริ่มจากการแทรกแซงของยุคดิจิทัล และช่วงวิกฤต “Dot-Com” อัตราการเปลี่ยน CEO เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% ในช่วงปี 1995 – 2001 (อ้างอิงจากผลการศึกษาของ Booz Allen Hamilton) และยังคงเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่นั้นเรื่อยมา

Challenger, Gray & Christmas Inc. (บริษัทจัดหาคนในตำแหน่งระดับผู้บริหาร รายแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา) เริ่มติดตามผลการลาออกของ CEO ตั้งแต่ปี 2003 และบพว่าอัตราการออกนั้นค่อย ๆ สูงขั้นอย่างต่อเนื่อง

อันที่จริง ปี 2019 เป็นปีที่อัตราการลาออกของ CEO พุ่งขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติกาล

ซึ่งปัจจัยนั้นไม่ใช่การเกษียณอายุของกลุ่ม Baby Boomers เท่านั้น แต่ไม่ว่าจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการของบริษัทจะเขียนว่าพวกเขาขอลาออกเองด้วยเหตุผลส่วนตัวต่าง ๆ นา ๆ ในความเป็นจริงแล้วจากผลสำรวจพบกว่า เกินกว่าครึ่งที่ CEO ถูกให้ออก (อ้างอิงจาก Exechange บริษัทที่ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งผู้บริหาร) และนั่นเป็นอัตราที่พุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปี 2006 ช่วงเวลาที่หนึ่งในสามของ CEO ลาออกอย่างไม่ทันตั้งตัว

เมื่อปี 2020 เริ่มต้นขึ้น ในเดือนมกราคมเราเริ่มเห็นการจากไปของ CEO เป็นการเริ่มต้นปีได้อย่างหยุ่งเหยิงเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดและส่งผลกระทบรุนแรงทางเศรฐกิจ กลับกลายเป็นว่าอัตราการออกของ CEO ลดลงต่ำที่สุดในรอบทศวรรต แต่อย่างไรก็ตาม หากอดีตนั้นเปรียบเป็นอาหารจานหลัก นี่คงเป็นเพียงออเดิร์ฟเรียกน้ำย่อยเท่านั้น

เรากำลังขับเคลื่อนพร้อมกำลังพลมุ่งหน้าไปสู่หนทางใหม่ของธุรกิจ และนั่นรวมถึงกลุ่มผู้บริหารระดับสูง (C-suite) และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

 

โควิด-19 ได้เข้ามาเคลียร์เก้าอี้ผู้บริหาร

เหล่าคณะกรรมการที่ยังไม่ได้หา CEO ใหม่เข้ามาแทนที่ในช่วงวิกฤตนี้ คงกำลังรอให้สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มมั่นคงเสียก่อน ฉะนั้นเราจะเริ่มเห็นการวางแผนเรื่องการโยกย้ายของ CEO จนเป็นกระแสในช่วงต้นปี 2020 – ซึ่งจะเกิดขึ้นแน่ ๆ แค่เมื่อไรเท่านั้นเอง

แต่การโยกย้ายครั้งใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวทางด้านธุรกิจไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “next normal” การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตลาดและธุรกิจกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่าหลาย ๆ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจช้าเกินไปเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม รูปแบบธุรกิจใหม่นั้นจะโฟกัสด้านกลยุทธ์ ส่งเสริมความเรียบง่าย เทคโนโลยีดิจิทัล e-commerce และความรอบครอบทางด้านการเงิน เป็นต้น

แม้แต่ CEO ที่ประสบความสำเร็จที่สุดก็อาจต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดขององค์กรของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นความหวังของ CEO กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO ที่ดูเหมาะสมในช่วงเวลาที่พึ่งผ่านมาไม่นานนัก กลับกลายเป็นว่าขาดทักษะบางอย่างเพื่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือ กระตุ้นการทำงานให้กับองค์กรในปัจจุบัน และคงจะมีการอภัยให้ได้บ้างเล็กน้อยต่อผู้บริหารระดับสูงที่ยังคงยึดติดกับ ระบบความคิดแบบเดิม ๆ ในขณะที่คู่แข่งได้เริ่มสร้างนวัตกรรม ปรับโฟกัสเป้าหมายให้ชัดเจน และเร่งสร้างผลลัพธ์อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายก็ยังมีโอกาสรออยู่อีกมากมายสำหรับคนที่กล้าลุกขึ้นมานำทางธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ พวกเขาจะแสวงหาหนทางด้วยตัวของเขาเองและองค์กรอื่น ๆ เพื่อสร้างภาพอนาคตใหม่ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยได้วางแผนไว้จะเกิดขึ้น เมื่อผู้บริหารระดับสูงได้ข้อสรุปของวงจรการเปลี่ยนแปลงนี้และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าเวลาของพวกเขาได้อีกต่อไป จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า “มันคุ้มค่าที่จะอยู่ต่อหรือไม่? หรือนี่คือเวลาที่จะเริ่มหางานใหม่? หรือจะเกษียณไปเลยดี?”

เมื่อเวลาแห่งการบอกลาของผู้บริหารมาถึง นักลงทุน คณะกรรมการบริหาร CEO CHRO และ คณะผู้บริหารทั้งหลายจะถามคำถามเป็นเสียงเดียวกันว่า “ใครจะเป็นผู้นำบริษัทของเราต่อไป?”

สิ่งที่องค์กรจะนำเสนอและการตอบคำถามนั้นอย่างไร จะเป็นการสร้างจุดยืนในการแข่งขัน ณ ช่วงแห่งเวลาประวัติศาสตร์นี้

 

บริบท (Context) คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

จากประสบการณ์ของเรา บริบท หรือ Context เป็นเหตุผลอันดับหนึ่งที่สร้างความล้มเหลวให้แก่ CEO แต่ถึงกระนั้น CEO ส่วนใหญ่ได้รับตำแหน่งจากการเป็นผู้บริหารระดับสูงที่เป็นที่ยอมรับ ยกตัวอย่างเช่น Travis Kalanick, CEO ของ Uber ที่สามารถเปิดตัวและส่งเสริมให้บริษัทเติบโตได้ แต่ติดปัญหาในการสร้างองค์กรและวัฒนธรรมที่จำเป็นในการขยายบริษัทหลังจากที่ก่อตั้งแล้ว

นอกจากปัญหาภายในแล้ว เรื่องการเงินและเหตุการณ์บ้านเมืองก็ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพรวมของธุรกิจ เช่น ตัวจุดฉนวนการเปลี่ยนแปลงของ CEO อย่าง Enron fraud และ การยกระดับการกำกับดูแลกิจการ; เหตุการณ์ฟองสบู่แตก; เหตุการณ์ 9-11 และ การก่อการร้าย; การที่จีนและอินเดียเป็นมหาอำนาจของโลก; ภัยธรรมชาติ เช่น เฮอริเคน Katrina, Harvey และ คลื่นยักษ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น; สหภาพยุโรป vs Brexit เป็นต้น

สำหรับหลาย ๆ องค์กร เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เห็นความไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว ในแต่ละสถานการณ์วิกฤติ เราจะพบว่ามีการปรับเปลี่ยนบริบทของกลยุทธ์ ซึ่งผู้บริหารจะถูกเลือกให้มาเป็นผู้นำ นอกจากนี้ยังทำให้ความเกี่ยวข้องของการสืบทอดตำแหน่งเป็นที่ยอมรับ เป็นเพราะว่าแผนการสืบทอดตำแหน่ง (ซึ่งอาจมีอยู่เดิม) ขึ้นอยู่กับทักษะความเป็นผู้นำที่เรามักรู้จักกันอยู่แล้ว น้อยมากที่จะบอกว่าเขาเหล่านั้นมีความยืดหยุ่นมากพอไหม ที่จะตอบสนองต่อการปฏิวัติในรูปแบบที่ท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

เหตุการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงบริบทที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และจะเผยให้เราได้เห็นถึงช่องโหว่ของบริษัทที่ไม่มีการวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง

 

การขัดขวางการสืบทอดตำแหน่งที่คาดไม่ถึง

“ฉันเขียนแผนสืบทอดตำแหน่งของเราลงบนกระดาษทิชชู่ตอนนั่งดื่มกับประธาน”
— ข้อความจาก CEO ท่านนึง

เป็นที่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร โดยเฉพาะในบริษัทเอกชน อันที่จริง National Associates of Corporate Directors ได้รายงานไว้ว่า 20% ของบริษัทเอกชนนั้นไม่มีการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่งสำหรับ CEO ของพวกเขา และเกือบหนึ่งในสามของบริษัทเอกชนไม่มีเลย

เหตุผลคืออะไร คงเป็นเพราะคณะกรรมการและ CEO เลือกที่จะวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่งกันเองและไม่มีพิธีรีตรองเท่าไรนัก นอกจากนั้นพวกเขาเองก็ถูกเลือกมากจากการตัดสินใจของผู้บริหาร พวกเขาเชื่อว่าพวกเขารู้ดีว่าอะไรเหมาะสมสำหรับธุรกิจ เวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นทางการ อาจไม่จำเป็นเท่าความกังวลทางธุรกิจด้านอื่น ๆ ถ้าไม่ใช่เพราะการเพิ่มจำนวนหุ้นหรือความต้องการในการทำให้เกิดความโปร่งใส เราคงได้เห็นจำนวนบริษัทที่ไม่ได้วางแผนเรื่องนี้มากขึ้นกว่านี้แน่ แต่น่าแปลกที่ CEO จำนวนหนึ่งได้แบ่งปันเรื่องราวของวิธีที่พวกเขาต้องกระตุ้นและให้ความรู้แก่คณะกรรมการของพวกเขา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหาคนเข้ามาแทนที่ เพราะทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ดี คณะกรรมการเลยไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอะไร อ้างอิงจากข้อความของอดีต CEO ท่านหนึ่ง “ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่ได้สนใจเรื่องการเกษียณของผมเลย!”

เป็นเรื่องที่เปราะบางอย่างน่าประหลาดใจที่คณะกรรมการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างใหญ่หลวง เมื่อจำนวน CEO ที่ออกไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น บริษัทก็เหมือนถูกบังคับให้มองหาคนนอกองค์กรมาแทนที่โดนปริยาย และเมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ แม้องค์กรนั้นจะมี pool ผู้สืบทอดอยู่แล้วก็ตาม อาจต้องเจอกับความจริงที่ว่าผู้สมัครเหล่านั้นยังมีความพร้อมไม่เพียงพอในการสืบทอดตำแหน่ง CEO

ในความเป็นจริง ปี 2019 บริษัทกว่า 56% ใช้วิธีการหาผู้สืบทอดตำแหน่งจากคนนอกองค์กร ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในกระบวนการที่ไม่มีความมั่นคงอยู่ก่อนแล้ว และส่งผลให้อัตราความล้มเหลวของการจ้าง CEO จากภายนอกองค์กรเพิ่มสูงขึ้น มากว่า CEO ที่เติบโตในองค์กร

ไม่ว่าบอร์ดจะคาดการณ์ความต้องการการสืบทอดตำแหน่งของ CEO หรือกำลังดิ้นรนเพื่อเติมเต็มบทบาทหลังจากการเดินทางที่ไม่คาดคิด มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสามารถสร้างกระบวนการที่แข็งแกร่งมากพอในการเฟ้นหา CEO ที่เหมาะสม และผลที่ตามมาจากนั้นก็คือ การกลับไปใช้วิธีการแบบดั้งเดิมหรือแบบอัตนัยในการประเมิน CEO - วิธีการที่มักส่งผลให้เกิดการเลือกคนผิดนั่นเอง และถ้าให้ระบุอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น นี่เป็นการทำให้องค์กรของพวกเขามีความเสี่ยงต่อการจากไปของ CEO ในอนาคต

ในบทความหน้า เรามาดูกันว่า 6 สิ่งที่คณะกรรมการมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง คืออะไร

 

Audrey Smith, Ph.D. เป็น Principal Partner ของธุรกิจเกี่ยวกับผู้บริหารของ DDI นักปฏิบัติที่มีประสบการณ์มานาน ผู้นำทางความคิด สถาปนิกของกระบวนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารของ DDI เธอมีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในการทำงานกับคณะกรรมการ CEOs และทีมบริหาร ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างประสิทธิภาพสูงสุด การแปรเปลี่ยนทางธุรกิจและการเติบโต เป็นที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจง และการใช้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ นอกจากนี้ Audrey ยังเป็นนักเขียน และนักพูด ได้เขียนบทความและร่วมเขียนหนังสือมากมายเกี่ยวกับผลงานวิจัยในมิติต่าง ๆ ของการเป็นผู้นำ

Matt Paese, Ph.D., Senior Vice President, Succession Management & C-Suite Services จาก ดีดีไอ เขาและทีมงานของเขาได้ช่วย CEOs คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงมากมายในการส่งเสริมด้านความเป็นผู้นำเพื่อการเติบโตของธุรกิจ วัฒนธรรม และความสำเร็จส่วนบุคคล กว่า 25ปี กับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้บริหารท่ามกลางความท้าทายทางธุรกิจใหม่ ๆ Matt ได้รวบรวมเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับผู้บริหารระดับ C-Level ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลว ข้อมูลเชิงลึกและผลงานวิจัยที่จะช่วยสร้างหนทางแห่งความสำเร็จให้แก่คณะกรรมการ CEOs และทีมผู้บริหารระดับสูง



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand