Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการในการกำกับดูแลมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน

การคอร์รัปชัน (Corruption) เป็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆจำนวนมากที่เอื้อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น อำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจ ระบบที่เอื้อต่อการใช้ดุลยพินิจ ฯลฯ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบั่นทอนการเจริญเติบโตของประเทศเหล่านั้นในทุกมิติ


สำหรับประเทศไทย นอกจากการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันหลายองค์กร อีกทั้งยังมีตัวบทกฎหมายมากมายเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดแล้วนั้น ความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม ตลอดจนภาคธุรกิจเอกชนยังถือเป็นส่วนสำคัญเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเช่นกัน ดังเห็นได้จากเกิดขึ้นขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และการจัดตั้งโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)


การจัดตั้งโครงการฯดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าการต่อต้านคอร์รัปชันเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนควรต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข ซึ่งถ้าให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งดำเนินการโดยลำพังก็คงบรรลุผลได้ยาก ดังนั้น คณะกรรมการบริษัท จึงควรมีความตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการเข้าเป็น “แนวร่วม” (Collective Action) เพื่อแสดงจุดยืนขององค์กร และสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียว่าบริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ซึ่งมิใช่แค่เพียงเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสของกิจการเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกมาตรฐานการทำธุรกิจของภาคเอกชนไทยในอีกทางหนึ่งด้วย


“แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการในการกำกับดูแลมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน” จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะนำเสนอเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. หลักการสำคัญ (Key Principles) และ 2. แนวปฏิบัติ (Guidelines)


หลักการสำคัญ (Key Principles) ของแนวปฏิบัติที่ดีฉบับนี้ ประกอบด้วย

1. คณะกรรมการพึงมีความตระหนักรู้ และเข้าใจถึงบริบทของปัญหาคอร์รัปชัน ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อกิจการ ภาคธุรกิจ และสังคมโดยรวม เพื่อผลักดันให้กิจการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม 

2. คณะกรรมการควรแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) 

3. คณะกรรมการมีบทบาทในการกำกับดูแลมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันของกิจการในภาพรวม โดยกำหนดกรอบการดำเนินงาน พร้อมมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบแก่ฝ่ายจัดการตามความเหมาะสม 

4. คณะกรรมการพึงมีความเข้าใจในความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่สำคัญของกิจการ โดยควรกำหนดให้ฝ่ายจัดการทำการระบุและประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน พร้อมรายงานให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำทุกปี

5. คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาอนุมัตินโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมทบทวนนโยบายดังกล่าวตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดรับกับความเสี่ยงของกิจการ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ 

6. คณะกรรมการพึงมอบหมายให้ฝ่ายจัดการจัดทำขั้นตอนหรือแนวปฏิบัติที่สอดรับกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยควรมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับบุคลากรในแต่ละส่วนงาน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 

7. คณะกรรมการควรดูแลให้มั่นใจว่ากิจการมีมาตรการควบคุมภายใน (Internal Control) ที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน อาทิเช่น 
7.1 การจัดให้มีคู่มือจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร 
7.2 การจัดให้มีกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดรับกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากร การปฐมนิเทศและฝึกอบรม การประเมินผลงาน การจ่ายค่าตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง ตลอดจนการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล 
7.3 การจัดให้มีการสื่อสารนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งภายในและภายนอกกิจการ 
7.4 จัดให้มีระบบทางบัญชี การเงิน และการเก็บบันทึกข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้อง ตลอดจนการกำหนดอำนาจอนุมัติรายการธุรกิจที่ชัดเจน รัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้
7.5 การจัดให้มีการกระบวนการตรวจสอบประวัติ / สถานะของคู่ค้าหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับกิจการ 
7.6 การกำหนดขั้นตอนปฏิบัติและกระบวนการควบคุมที่รัดกุม และเฉพาะเจาะจงในธุรกรรมต่างๆที่ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันค่อนข้างสูง 
7.7 การจัดให้มีการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกที่ครอบคลุมกิจกรรมสำคัญต่างๆของกิจการ โดยหน่วยงานที่เป็นอิสระ 
7.8 การจัดให้มีช่องทางที่ปลอดภัยสำหรับบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เมื่อพบเหตุคอร์รัปชัน (Whistleblowing) โดยมีแนวทางการสอบสวนข้อเท็จจริง และมาตรการคุ้มครองบุคคลผู้แจ้งเบาะแสอย่างเหมาะสม
7.9 การกำหนดบทลงโทษทางวินัยต่อผู้ที่ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน อันครอบคลุมไปถึงพนักงาน ตลอดจนบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับกิจการ เช่น ตัวแทน ตัวกลาง คู่ค้า เป็นต้น 

8. คณะกรรมการพึงดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบในการติดตามดูแลผลการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการควบคุมต่างๆมีความเหมาะสมและถูกนำไปปฏิบัติจริง 

9. คณะกรรมการควรส่งเสริมให้กิจการเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Agent) โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยน เผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีกับบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแนวร่วมฯที่เข้มแข็งในการต่อต้านคอร์รัปชันต่อไป 

ทั้งนี้ สาระสำคัญในส่วนของแนวปฏิบัติ (Guidelines) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

 



Researches & Surveys Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand