Key Takeaways: Directors Briefing l Workplace Health & Safety: New Priorities for Board
Key Takeaways: Director’s Briefing
Workplace Health & Safety: New Priorities for Board
สถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน...และแนวโน้มในอนาคต
• ประเทศไทยเข้าสู่การระบาดระลอก 4 โดยสมบูรณ์แล้ว โดยกว่า 90% ของสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ คือ “โอไมครอน” ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อที่ง่ายและเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ถึง 3 เท่า แต่มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า จึงส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ
• ปัจจัยหลักๆ ของการติดเชื้อดังกล่าวยังคงเป็น การไม่สวมหน้ากากอนามัย การไม่รักษาระยะห่าง (Social Distancing) และการไปอยู่ในสถานที่ที่มีความแออัด
• ในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดน่าจะยังคงดำเนินไปเช่นนี้อีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง จนกระทั่งกลายสภาพเป็น “โรคประจำถิ่น” ดังนั้น มาตรการ Universal Prevention ต่างๆ ที่ถือปฏิบัติอยู่ (การสวมหน้ากาก / การทำงานที่บ้าน / การเว้นระยะห่าง / การล้างมือเป็นประจำ) ก็ยังคงมีความจำเป็น
การดูแลสุขภาวะของพนักงาน ...และประเด็นที่คณะกรรมการควรให้ความสำคัญ
• คณะกรรมการควรทำความเข้าใจและหยิบยกสถานการณ์ครั้งนี้เป็น “บทเรียน” เพื่อให้สามารถ “ตั้งรับ” กับการแพร่ระบาดใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมองว่าเป็นหนึ่งใน “ความเสี่ยงทางธุรกิจ” ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดให้มีแผนการดำเนินงานเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าวอย่างทันท่วงที
• ในขณะที่ต้องรับมือกับ “วิกฤต” ...คณะกรรมการควรมองหา “โอกาส” ทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับวิกฤตดังกล่าวควบคู่กันไปด้วย เช่น การพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยน Business Model หรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เป็นต้น
• “พนักงาน คือ ทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กร” ดังนั้น การดูแลให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ การเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ตลอดจนการให้ความมั่นใจเกี่ยวกับแนวทางการดูแลพนักงานและการจ้างงานในภาวะวิกฤต จึงเป็นสิ่งที่คณะกรรมการ / ฝ่ายจัดการต้อง “สื่อสาร” และ “ดำเนินการให้เห็น” อย่างเป็นรูปธรรม
• คณะกรรมการควรหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิด “การดูแลเชิงป้องกัน” มากขึ้น (การดูแลสุขภาพกาย-ใจของพนักงาน โดยไม่ต้องรอให้เจ็บป่วยเสียก่อน) โดยผนวกเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณา / ทบทวนรูปแบบสวัสดิการด้านต่างๆ ให้กับพนักงาน
• ในระดับปฏิบัติการ... ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ควรมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้แนวคิดด้านการดูแลสุขภาวะและความปลอดภัยของพนักงานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งครอบคลุมงานด้านต่างๆ เช่น
o การให้ความรู้ / คำแนะนำแก่พนักงานเกี่ยวกับโรคและแนวทางการป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ
o การจัดหาวัคซีน / เครื่องมือ-อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการป้องกันโรคอย่างเพียงพอ
o การออกแบบ Facilities / Logistics ต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสระหว่างบุคคลให้ได้มากที่สุด
|