Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
คู่มือสำหรับประธานกรรมการในการจัดการบทบาทของ CEO เรื่องผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO : ตอนที่ 1

คู่มือสำหรับประธานกรรมการในการจัดการบทบาทของ CEO เรื่องผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO : ตอนที่ 1

Courtesy of DDI 

CEO ควรมีส่วนร่วมในการวางแผนหาผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากตนเองมากน้อยเพียงใด และกรรมการจะมั่นใจได้อย่างไรว่า พวกเขาทำได้ดีแล้ว กรรมการแต่ละท่านต่างจัดการกับคำถามนี้แตกต่างกัน แต่ประธานกรรมการทุกท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความชัดเจนและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการ

ความท้าทายที่กรรมการทุกคนต้องเผชิญ คือ ความชัดเจน พวกเขามีหน้าที่กำหนดหลักการและกำกับดูแลการจัดการ นี่ถือเป็นความยากลำบากอย่างต่อเนื่องในการเข้าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงภายในองค์กรแบบยังไม่ถูกคัดกรองใด ๆ โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมมากจนเกินไปจนกลายเป็นอุปสรรค ไม่มีที่ไหนที่ความท้าทายนี้จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนไปมากกว่าความรับผิดชอบลำดับต้น ๆ ของคณะกรรมการ: การสืบทอดตำแหน่ง CEO

การรักษาความต่อเนื่องด้านการเป็นผู้นำในผู้บริหารระดับสูงนั้นเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการทุกคน อย่างไรก็ตาม มีความแปรปรวนอย่างมากในการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการและ CEO ในงานสำคัญนี้ รวมไปถึงวิธีการตรวจสอบ CEO ในการเป็นผู้นำกระบวนการสืบทอดตำแหน่ง CEO นี้ด้วย

อันที่จริง สถานการณ์ที่เสี่ยงที่สุดอาจเป็นสถานการณ์ที่ CEO และองค์กรกำลังดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บรรดา CEO ในสถานการณ์เหล่านี้ (มักเป็นประธานกรรมการด้วย) ได้รับอนุญาตให้มีอิสระในการจัดการมากขึ้น ถูกตรวจสอบน้อยลง และได้รับการต่อต้านจากคณะกรรมการของพวกเขา แต่วิธีการดังกล่าวมักจะสร้างความประหลาดใจให้กับคณะกรรมการเมื่อ CEO คนใหม่เข้ามารับตำแหน่ง

การกลับมาครั้งล่าสุดของ Bob Iger ในฐานะ CEO ของ Disney แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์บูมเมอแรงที่คณะกรรมการต่างเปี่ยมไปด้วยความกังวลที่พวกเขาพบว่า ไม่มีตัวเลือกอื่นที่เหมาะสมนอกจากการเชิญ CEO ที่เกษียณไปแล้วกลับเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ผลลัพธ์ของการกลับมาของเหล่า CEO นี้ คือการ Mixed at Best ซึ่งเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงบทสรุปที่ชัดเจนว่า คณะกรรมการไม่ควรนำ CEO คนก่อนกลับมา นอกเสียจากพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น และหากเป็นเรื่องของการสืบทอดตำแหน่ง CEO การไม่มีตัวเลือกเช่นนี้ คือ ความเสี่ยง

 

บทบาทของ CEO ในการสืบทอดตำแหน่ง คือ อะไร?

มาทำความเข้าใจให้ชัดเจน: การสืบทอดตำแหน่ง CEO นั้นเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการไม่ใช่ของ CEO คณะกรรมการทุกคนควรได้แล้วว่า ไม่มีเรื่องใดที่พวกเขาสามารถปล่อยปละละเลยได้เมื่อเป็นเรื่องของการเลือกผู้บริหารระดับสูง และไม่ว่าผลงานของ CEO คนปัจจุบันจะดีเพียงใดก็ตาม โดยทั่วไป CEO จะรับบทบาทเป็นผู้นำในการดำเนินกระบวนการการสืบทอดตำแหน่ง CEO แต่คณะกรรมการและผู้ถือหุ้น คือ ลูกค้า และ CEO ต้องเติมเต็มงานที่ได้รับมอบหมายนี้ด้วยวิธีที่เป็นไปได้ว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด

จากประสบการณ์ในการตัดสินใจเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง CEO และ C-suite หลายพันครั้ง ผมและทีมได้เห็นตัวแปรมากมายในความเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันระหว่างคณะกรรมการและ CEO ในกระบวนการสืบทอดตำแหน่ง CEO และในบทความสั้น ๆ นี้ ผมจะเน้นไปที่ปัจจัยและคำถามที่คณะกรรมการทุกคนควรพิจารณาเมื่อสร้างและจัดการความคาดหวังสำหรับความเป็นผู้นำในการสืบทอดตำแหน่งของ CEO

 

คณะกรรมการควรจัดการบทบาทของ CEO ในการสืบทอดตำแหน่งอย่างไร?

ครั้งหนึ่งผมได้ร่วมสังเกตคณะกรรมการของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งถาม CEO (ผู้เป็นประธานคณะกรรมการด้วย) ในชุดคำถามเกี่ยวกับการสืบทอดตำแหน่ง CEO ผู้อำนวยการท่านหนึ่งได้ถามถึงการพัฒนา COO ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ได้รับคัดเลือกอันดับต้น ๆ : “คุณช่วยแบ่งปันเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการพัฒนาของพวกเขาได้ไหม”

CEO ยกนิ้วชี้ขึ้นมาแตะไปที่ข้างหน้าผากแล้วพูดว่า “มันอยู่ตรงนี้ไง” หรือก็คือ มีเพียงเขาคนเดียวเท่านั้นที่รู้ถึงแผนการพัฒนาและจะจัดการมันด้วยตัวของเขาเอง ไม่น่าแปลกใจเลยว่านี่ไม่ใช่คำตอบที่คณะกรรมการคาดหวังและเห็นว่าเหมาะสม

การสืบทอดตำแหน่ง CEO เป็นกระบวนการที่มีแง่มุมหลากหลายด้าน ตั้งแต่การระบุผู้ได้รับคัดเลือกเข้าชิงในตำแหน่งผู้สืบทอด การประเมินทักษะความสามารถ การให้ประสบการณ์ในการพัฒนา และการประเมินความพร้อมในการเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาศัยเวลาในการพัฒนาและจำเป็นต้องมีการร่วมมือทำงานกันอย่างเต็มที่และโปร่งใสระหว่าง คณะกรรมการ CEO CHRO และผู้ที่ได้รับคัดเลือก

เป็นความจริงที่ CEO มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้ดำเนินการจัดการกระบวนการนี้ โดยทั่วไปแล้ว การตัดสินถึงความพร้อมของผู้ที่ได้รับคัดเลือกจาก CEO นั้น จะมีน้ำหนักมากกว่าการตัดสินจากคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการต้องระมัดระวังไม่ปล่อยให้สมมติฐานในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีการพูดคุยกัน จนเป็นข้อกังขาว่า CEO เป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมเรื่องของการสืบทอดตำแหน่งนี้แต่เพียงผู้เดียว

 

คำถามที่คณะกรรมการควรถามเกี่ยวบทบาทของ CEO ในกระบวนการการสืบทอดตำแหน่ง

·        CEO ของเราได้สื่อสาร ขอข้อมูล และสร้างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการในทุกแง่มุมของกระบวนการการสืบทอดตำแหน่ง CEO หรือไม่?

·        การวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO ได้ดำเนินการตามที่พูดคุยตกลงร่วมกันกับคณะกรรมการหรือไม่?

·        CEO ของเราเข้าใจและแสดงให้เห็นถึงการตระหนักว่า การสืบทอดตำแหน่งอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการหรือไม่?

·        CEO ของเราเข้าใจชัดเจนหรือไม่ว่า การตัดสินเลือกผู้สืบทอด ท้ายที่สุดแล้วคณะกรรมการคือผู้ตัดสิน?

·        คณะกรรมการต้องเริ่มวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง CEO เมื่อใด?

จากประสบการณ์ของ DDI องค์กรส่วนใหญ่ที่เริ่มต้อนกระบวนการเพื่อหาผู้สืบทอดตำแหน่ง CEO คือ องค์กรที่มี CEO ดำรงตำแหน่งอยู่น้อยกว่าหนึ่งปี

เพราะอะไร?

หลายครั้งที่การเปลี่ยนผ่าน CEO ไม่ใช่เรื่องง่าย พวกเขาอาจใช้เวลามากเกินไป ก่อให้เกิดการลาออกที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นใน C-suite ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ถือหุ้น หรือเข้ามารับช่วงต่อจาก CEO ที่ทำผลงานไว้ได้ไม่ดี จากกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ คณะกรรมการเลือกที่จะไม่กลับไปสู่สถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก ดังนั้น CEO คนใหม่จึงถูกขอให้เริ่มดำเนินการวางแผนสืบทอดตำแหน่งของตนเองหลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งได้ไม่นานนัก

นี่ถือเป็นแรงกระตุ้นที่ดี เพราะการสืบทอดตำแหน่ง CEO นั้นไม่ใช่การตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นทุก ๆ 5-10 ปี แต่เป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปตลอด ซึ่งองค์กรต้องหมั่นเตรียมความพร้อมให้กับผู้นำหากต้องเข้ารับตำแหน่งสำคัญที่ว่างอยู่อย่างสม่ำเสมอ ตระหนักว่านี่คือสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอย่างต่อเนื่องไม่ใช่การตระเตรียมเป็นครั้งคราว

ในทางกลับกัน หากคณะกรรมการไม่เริ่มกระบวนการนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การดำเนินการอาจยากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมี Iconic CEO ที่มีความมุ่งมั่นในการหาผู้สืบทอดตำแหน่งเพียงน้อยนิด ผลที่ตามมา คือ องค์เหล่านี้มักจะล้มเหลวในการหาผู้สืบทอดตำแหน่งและการนำ CEO คนก่อนกลับมา (boomerang CEO)

ในบทความฉบับต่อไป ผมจะมาเจาะลึกคำถามที่คณะกรรมการควรถามในกระบวนการสืบทอดตำแหน่ง CEO การกำหนด Success Profile ของ CEO คนต่อไป และ การโค้ชและพัฒนาผู้สืบทอดที่มีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับการเติบโตของพวกเขากันครับ


Matt Paese, Ph.D. ตำแหน่ง Senior Vice President, Succession Management & C-Suite Services ที่ DDI



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand