Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
Engaging Board in ESG: The Path to Effective Sustainability

          
          ท่ามกลางภาวะ Climate Change ที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว ปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และการกำกับดูแลกิจการ (Governance) จึงมีอิทธิพลในการกำหนดความยั่งยืนขององค์กรโดยเป็นหน้าที่หลักของกรรมการที่ต้องมองการณ์ไกล รับรู้และเข้าใจเรื่อง ESG รวมถึง นำ ESG เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ ผ่านกระบวนการวางแผนและตัดสินใจของกรรมการ ผลที่ได้จะสร้างคุณค่าหลายประการต่อนักลงทุน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน สามารถดึงดูดนักลงทุนในโลกธุรกิจปัจจุบัน สร้างโอกาสในการเข้าถึงเงินทุน และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรของท่านได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น  ESG ยังสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร เข้าสู่มาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ลดการสูญเสีย สร้างสภาวะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงเกิดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะองค์กรของท่านเองเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย Thai IOD จึงได้จัดการประชุม Director Forum ภายใต้หัวข้อ “Engaging Board in ESG: The Path to Effective Sustainability” ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566

          ในการประชุมดังกล่าว ศ. (พิเศษ) กิตติพงศ์  อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์ Thai IOD ได้ให้เกียรติมากล่าวเปิดการประชุม ซึ่งท่านได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่กรรมการต้องไม่จำกัดบทบาทตนเองไว้เพียงเป็นผู้รับรู้ข้อมูล หรือรับทราบรายงานด้าน ESG เท่านั้น แต่ต้องรับบทบาทผู้นำในการเผชิญกับความท้าทายในเรื่อง ESG  ที่รออยู่ข้างหน้า มองเห็นถึงความเสี่ยงและเป้าหมายที่จะบรรเทาความเสี่ยงนั้นๆ ตลอดจนมีการวัดผลและรายงานอย่างโปร่งใสเป็นรูปธรรม และในบางประเด็นอาจต้องเปลี่ยนมุมมองเรื่อง ESG ใหม่ว่าไม่ใช่เป็นเพียงอุปสรรคหรือการสิ้นเปลืองเสมอไป แต่เป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมในองค์กรดึงดูดนักลงทุนที่มองหาบริษัทที่ประกอบการบนพื้นฐานที่ควบคู่ไปกับการดูแลเรื่อง ESG และตอนนี้การดูแลเรื่อง ESG ได้ขยายบริบทที่เสริมสร้างการหาแหล่งเงินทุนที่เป็น Green Fund อีกด้วย            

          ในการประชุมนี้ยังจัดให้มีการเสวนาในเรื่องสำคัญ โดย Session 1: The Board’s Responsibility: Driving Sustainability and ESG Initiatives ได้รับเกียรติจาก คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกิตติมศักดิ์ Thai IOD และ ประธานกรรมการ บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) คุณสมฤดี ชัยมงคล  กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ดร.ภวัฒน์ วิทูรปกรณ์ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท  อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และคุณชมพรรณ กุลนิเทศ  CSO, บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์ชั่นแนล จำกัด (มหาชน),  Lead Member CoP – Sustainability มาเป็นผู้อภิปราย และดำเนินการอภิปรายโดย คุณกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ Thai IOD

จากการเสวนา ทำให้ได้รับมุมมองที่สนใจ ดังนี้

·      บริษัททุกขนาดสามารถดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG เพื่อแสดงความเป็น good corporate citizen และสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาวได้ โดยอาจเริ่มจากสิ่งที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทก่อน หรืออย่างน้อยที่สุดสามารถเริ่มต้นที่ GRC (Governance, Risk Management, and Compliance) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ว่าระบบการจัดการด้านการกำกับดูแล (Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk) และการปฏิบัติงานตามระเบียบ (Compliance) ส่งผลให้การปฎิบัติงานมีประสิทธิผล และมีคุณภาพสูง ทั้งนี้สำหรับก้าวต่อไปหากบริษัทมีศักยภาพที่เพียงพอแล้ว ก็สามารถพัฒนาไปสู่การดำเนินการขั้น ESG ต่อได้

·      การผสานหลัก ESG กับการดำเนินธุรกิจ คณะกรรมการควรมองให้ลึกถึงแก่นแท้ของธุรกิจ และเลือกทำกิจกรรมที่ได้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ต้องศึกษาและวางแผนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมถึงทำอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มองว่าการทำ ESG เป็นการบังคับ หรือเป็นกิจกรรมระยะสั้นๆ หรือได้ภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้น บางธุรกิจการถูก disruption จากกระแส ESG จะมาไวและรุนแรงมาก ดังนั้นบริษัทควรติดตามและประเมินความเสี่ยงในเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ และสิ่งใดที่ควรรีบทำ ต้องทำทันที ไม่สามารถรอช้าได้

·      การขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ในองค์กร ไม่ใช่เพียงการมีนโยบาย หรือคณะทำงานที่ดูแลงานด้านความยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

-            กลยุทธ์ บริษัทต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ต้องการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนในเรื่องใดเพื่อนำมาสื่อสารและเน้นย้ำให้คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารเห็นความสำคัญ รวมถึงการผนวกประเด็น ESG เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร การสื่อสารกลยุทธ์ให้ทั้งองค์กรรับทราบ การนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการวางแผนงาน รวมถึงการสร้าง ESG ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

-            แรงจูงใจ บริษัทควรสร้างแรงจูงใจในการขับเคลื่อน ESG โดยอาจจัดสรรงบจำนวนหนึ่งเพื่อมอบให้กับพนักงานที่สามารถนำหลักความยั่งยืนมาปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างประสบความสำเร็จ

-            เทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจสามารถนำหลักการ ESG มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

·      ESG เป็นการเดินทางระยะยาว ต้องทำต่อเนื่องไม่มีจุดสิ้นสุด ซึ่งระหว่างทางต้องหยุดประเมินตัวเองอยู่เป็นระยะๆ ว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ควรมีการวัดผลความคืบหน้าของแผนงาน และจัดทำรายงานตามข้อมูลที่เป็นจริง หากต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนงานตามพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไป จะช่วยให้สามารถแก้ไขอย่างเป็นระบบได้

 

Session 2: Governance Roles of the Board through new CGR and International Standard ได้รับเกียรติจาก ดร. ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย  ที่ปรึกษาโครงการ CGR, Thai IOD และคุณพนอจันทร์ จารุรังสีพงศ์  GRI Certified Sustainability Professional เป็นผู้อภิปราย และดำเนินการอภิปรายโดย คุณบุญศิริ จารุศิริ รองผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่าย Knowledge

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย อาคาร วตท. อาคาร 2 ชั้น 3 เลขที่ 2/9 หมู่ที่ 4 (โครงการนอร์ธปาร์ค) ถ.วิภาวดีรังสิต  แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่  กรุงเทพฯ 10210  

โทรศัพท์: 02-955-1155 โทรสาร: 02-955-1156-57

Thai Institute of Directors Association ,CMA. Building 2, 2/9 Moo 4 Northpark Project, Vibhavadi-Rangsit Road, Thung SongHong, Laksi, Bangkok 10210, Thailand,

Tel: 02-955-1155 Fax: 02-955-1156-57

 

 
 Thai IOD

จากการเสวนา ทำให้ได้รับมุมมองที่สนใจเกี่ยวกับ

·   การจัดทำรายงานด้าน ESG โดยคณะกรรมการของบริษัทไม่ควรโฟกัสไปที่ผลการดำเนินการทางการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรเพิ่มประเด็นเรื่องการจัดทำรายงานความยั่งยืนที่มีความโปร่งใส โดยข้อมูลที่นำมาเปิดเผย ต้องมีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้และมีการปรับปรุงข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินตามเป้าหมายความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพราะในระยะต่อไปทั่วโลกจะยิ่งหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามหลัก ESG มากขึ้น  ปัจจุบันการจัดทำรายงานความยั่งยืนมีหลายรูปแบบ แต่มีแนวทางรายงานหลักเพียง 2 แบบ คือ 1. Outward impact คือ การเปิดเผยว่าบริษัทสร้างผลกระทบอะไรต่อ ESG บ้าง 2. Inward Impact คือ การเปิดเผยว่าบริษัทได้รับผลกระทบอะไรจาก ESG บ้าง ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ มีหลักการเปิดเผยที่เหมือนกัน 4 ข้อ ได้แก่

-            Governance โครงสร้างการกำกับดูแลภายในองค์กรเป็นอย่างไร

-            Materiality ประเด็นที่สำคัญของบริษัทคืออะไร

-            Strategy กลยุทธ์ และวิธีการจัดการในแต่ละเรื่อง

-            Indicator การตั้งเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัด และการวัดผล คืออะไร

การจัดทำรายงานด้าน ESG ถือเป็น Eco-system สำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และไม่ได้จำกัดเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถทำได้ นอกจากนี้การนำ ESG Framework ต่างๆ ทั้งจากในประเทศไทยหรือระดับสากลมาปรับใช้ในธุรกิจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านการพิจารณา อนุมัติ และทบทวนจากคณะกรรมการ (Fiduciary duty)

·      การประเมินคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลตามโครงการ CGR เริ่มขึ้นในปี 2544 หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง อันเนื่องมาจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ผลจากการสำรวจตามโครงการเป็นพื้นฐานในการติดตามและวัดผลการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยเปรียบเทียบกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากล โดยเป็นการประเมินในมุมมองของบุคคลภายนอกที่ได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัทจดทะเบียนที่เปิดเผยต่อสาธารณะผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดจนสื่อต่างๆ ซึ่งตลอดเวลากว่า 20 ที่ดำเนินโครงการ พบว่า การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนบางส่วนนั้น ยังเปิดเผยข้อมูลไม่สอดคล้องกับหลักการไม่ว่าจะเป็น CG หรือ ESG ที่บริษัทยึดถือปฏิบัติ เนื่องจากยังขาดการทำงานที่เชื่อมโยงกับคณะกรรมการบริษัท ดังนั้นคณะกรรมการนอกจากจะปฏิบัติหน้าที่ตาม Fiduciary duty อย่างครบถ้วนแล้วนั้น ต้องไม่จำกัดบทบาทตนเองไว้เพียงเป็นผู้รับรู้ข้อมูล หรือรับทราบรายงานด้าน ESG เท่านั้น แต่ต้องรับบทบาทผู้นำในการกำหนดทิศทางการเปิดเผยข้อมูลของ บจ. ให้สอดคล้องกับหลักการ

Session 3: Empower Role of the Board in Sustainability ได้รับเกียรติจาก คุณวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล รองประธานกรรมการ และประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ Thai IOD และคุณเจนนิสา คูวินิชกุล จักรพันธ์ ณ อยุธยา กรรมการอิสระ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้อภิปราย และดำเนินการอภิปรายโดย คุณกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ Thai IOD

จากการเสวนา ทำให้ได้รับมุมมองที่สนใจ ดังนี้

·       การขับเคลี่อนให้เกิดการทำ ESG ในองค์กรโดยกรรมการบริษัท จะสำเร็จลุล่วงไปได้ เกิดจาก Engagement ทั้งกับ

-             Internal Stakeholders ที่เริ่มตั้งแต่ประธานกรรมการ คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ตลอดจนพนักงานแต่ละระดับผ่านการสื่อสารที่ชัดเจน ซึ่งหากมีการจัดตั้ง ESG Committee ที่รับผิดชอบโดยตรงก็จะทำให้การทำงานลงลึกมากขึ้น ทั้งการวางแผน วางเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร รวมถึงการติดตามและรายงานผลให้คณะกรรมการทราบ

-            External Stakeholders ต้องสื่อสารอย่างเพียงพอ รวมถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงต้องมีการร่วมมือช่วยเหลือกัน โดยการสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือ เช่น การให้ความช่วยเหลือกับบริษัทขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อให้อยู่รอดได้ หรือการให้ บจ. ขนาดใหญ่ช่วยเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำ บจ. ขนาดเล็กในการริเริ่มทำ ESG เป็นต้น

นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงควบคู่กับการประเมินความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมการต้องสื่อสารกับฝ่ายจัดการให้ชัดเจนถึงเป้าหมายระยะสั้น-ระยะยาวขององค์กร โดยเป้าหมายทางธุรกิจกับเป้าหมายทางด้าน ESG ต้องสอดคล้องและสามารถดำเนินไปด้วยกันได้

 

 

เรียบเรียงโดย

นางสาวมณี มณีแสง 

นางสาวอรกานต์ จึงธีรพานิช

 



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand