Key Takeaway จากงาน Directors Briefing 6/2022 Reimagining Boardroom in the Web3.0 Era
• ทำไม Board ต้องรู้เรื่อง Web3.0 ?
👤 ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์: เนื่องจาก Web3.0 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเรื่องที่อยู่ในกระแส ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และคนส่วนมากยังเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการเก็งกำไร (crypto) เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด ดังนั้นหากเรามีความเข้าใจ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ หรือใช้ในการเตรียมรับมือว่าธุรกิจประเภทใดบ้างที่อาจโดนผลกระทบจาก Web3.0 ได้
• นิยามคำว่า Web3.0
👤 ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์: มองว่าธุรกิจควรให้ความสนใจ Web3.0 เนื่องจาก
1. โอกาส (Opportunities): สามารถสร้างคุณค่าใหม่ๆให้แก่ลูกค้า การมอบอำนาจให้แก่ลูกค้าในการเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกัน รวมถึงการขยาย Pool ของทีมงานที่มีทักษะให้มากขึ้น
2. การแข่งขัน (Competition): ในกรณีที่คู่แข่งสามารถเข้าถึง talented pool และ financial option แบบไร้พรมแดนได้ จะก่อให้เกิดพลังในการระดมทุนที่เร็วมากๆ ซึ่งมีโอกาสที่คู่แข่งจะขับเคลื่อนไปได้ไวกว่าเรามากในอนาคต
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค (Shifting Consumer Behaviors): เห็นได้จากในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจเรื่อง Metaverse มากขึ้น
มุมมองของคำว่า Web3.0 ของ ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ คือ ให้มองว่าระบบ Blockchain (เช่น Bitcoin, Ethereum) เปรียบได้กับประเทศ แล้วมีบริษัทต่างๆ (apps) ดำเนินการอยู่ภายในประเทศนั้นๆ หรือมองว่าเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่วิ่งอยู่คนละระบบกับธุรกิจปกติ โดยเป็นระบบที่เป็น Decentralize ไม่มีภาครัฐทำ infrastructure ให้ และไม่ได้มีธนาคารกลางคอยกำกับดูแล โดย Web3.0 แพรตฟอร์มจะมีการสร้าง Token หรือสกุลเงินดิจิตอลขึ้นมาเพื่อใช้ในการดำเนินการทางธุรกรรม ซึ่งเป็นการสร้าง Demand ให้เกิดขึ้น ภายในโลกของ Web3.0 จะเต็มไปด้วยบริษัทลูกๆ จำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีเหรียญหรือบริการที่แตกต่างกัน โดยจะมีศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเหรียญเหล่านี้กับเงินในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น Binance, Bitkub โดยจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเศรษฐกิจจริงกับการเก็งกำไรในโลก Web3.0
• การเชื่อมโยง Web3.0 กับธุรกิจใน sector ต่างๆ
👤 ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์: เห็นว่าไม่จำเป็นที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้เร็วเพื่อรองรับ Web3.0 เนื่องจาก Web3.0 จะดึงดูดการทำธุรกิจบางประเภทที่ไม่มีตัวกลาง การจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบอัตโนมัติและทุกคนสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าใครได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ เน้นการส่งมอบผลประกอบการให้กับคนที่ add value มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ศิลปินต่างๆ ใน web ซึ่งจะได้รับ fair share มากขึ้น
นอกจากนี้ Web3.0 ยังเป็นการมอบอำนาจให้กับลูกค้า (Empowering Consumer) ในโลก Web3.0 ช่องว่างระหว่าง Board ผู้บริหาร นักลงทุน และลูกค้ามีความแคบ และมีการสื่อสารที่รวดเร็วมาก ทำให้ธุรกิจสามารถรับฟังความต้องการของลูกค้าได้ชัดเจนขึ้น โดยต้นทุนในการได้ข้อมูลเหล่านี้จะมีมูลค่าที่ต่ำกว่าโลกจริงมาก
👤 คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ: มองว่าองค์กรที่ทำธุรกิจตรงนี้ต้องมีความใส่ใจลูกค้าให้มากกว่าการทำธุรกิจแบบเดิมที่มีการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคมา จากนั้นจะมีการปรับหรือไม่ปรับก็ได้ แต่ Web3.0 จะแตกต่างออกไป คือลูกค้าทุกคนจะมีสิทธิมีเสียงในการกำหนดทิศทางของบริษัทเช่นเดียวกัน
• ในภาพรวม Web3.0 จะ disrupt การดำเนินธุรกิจของบริษัทหรือไม่ ?
👤 ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์: มองว่าสำหรับธุรกิจ Logistics น่ายังไม่ถึงจุดที่ Web3.0 จะมา disrupt แต่สำหรับเรื่อง Financing เห็นว่าควรให้ความสนใจ เนื่องจากไม่ว่าจะทำธุรกิจประเภทใดก็จะมีความเกี่ยวข้องกับ Financing และการทำ Financing ให้ Flexible ถือว่าเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ โดย technology Web3.0 หรือระบบ Token สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการทำกิจกรรมใหม่ๆ ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่ง และช่วยในการระดมทุนและระดมพลังจากคนเก่งๆให้มาร่วมงานด้วย
• ในฐานะของ Board ควรรู้เรื่อง Web3.0 ลึกแค่ไหน ?
👤 ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์: ต้องดูว่าธุรกิจหลักของเราทำอะไรก่อน โดยก้าวแรกที่สำคัญคือศึกษาให้รู้ก่อนว่าเทคโนโลยีนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ cost ในการเรียนรู้จะค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถศึกษาจากนักลงทุนหรือกองทุนต่างๆในเบื้องต้นก่อนได้ สำหรับเรื่องการนำ DAO (Decentralized Autonomous Organization) มาปรับใช้ในองค์กร Board ควรศึกษาและทดลองดูก่อนว่ามีความเหมาะสมกับองค์กรมากน้อยเพียงใด
|