ESG และบทบาทของกรรมการ
กระแสความคาดหวังของ ESG ทั้งที่มาจากนักลงทุน คู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆมีระดับร้อนแรงมากขึ้นทุกๆวัน ทำให้บริษัทต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันกับเหตุการณ์เหล่านี้ คำถามสำคัญคือ คณะกรรมการบริษัทควรมีบทบาทต่อ ESG ในองค์กรอย่างไร
ผลการสำรวจของ PwC จาก Annual Corporate Directors Survey, October 2022 ได้แสดงให้เห็นว่ากรรมการ 86% เข้าใจ ESG ในภาพรวม แต่หากลงในรายละเอียดเช่น Climate Risk และ Carbon Emissions กรรมการมีความเข้าใจเพียง 65% และ 56% ตามลำดับ
บริษัทที่สามารถทำ ESG ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ย่อมมีโอกาสนำกิจการสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนได้มากกว่าองค์กรอื่นๆ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จนี้ ต้องเริ่มต้นจากคณะกรรมการบริษัท บทความนี้จึงขอให้แนวทางสำคัญของบทบาทคณะกรรมการบริษัทต่อ ESG ดังนี้
• ความมุ่งหมายและกลยุทธ์ (Purpose and strategy)
• ความเสี่ยง (Risks)
• การเปิดเผยข้อมูล (Disclosures)
• การวัดผลและติดตาม (Measuring and monitoring progress)
• การใช้ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Using compensation to create incentives)
งานสำคัญที่กรรมการควรปฏิบัติในแต่ละบทบาทมีดังนี้
ความมุ่งหมายและกลยุทธ์ (Purpose and strategy)
• คำนึงถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
• กำหนดความมุ่งหมายและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน
• เปรียบเทียบกับความมุ่งหมายของคู่แข่ง
• พิจารณาและติดตามทั้งโอกาสและความเสี่ยงในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ
ความเสี่ยง (Risk )
• บริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงจาก ESG
• จัดทำแผนจัดการความเสี่ยงด้าน ESG
• จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงด้าน ESG และพิจารณาว่ามีผลต่อการจัดสรรเงินทุนหรือไม่
การเปิดเผยข้อมูล (Disclosures)
• สื่อสารข้อมูลว่าความมุ่งหมายจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างไร และมีเกณฑ์วัดความคืบหน้าทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
• พิจารณาเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมต่อบริษัท โดยดูจากสิ่งที่ผู้ประเมิน ESG คาดหวัง และข้อมูลอื่นๆที่นำมาเปรียบเทียบได้
• เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ทราบเกี่ยวกับผลงานที่ปฏิบัติได้จริงกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
• เปิดเผยข้อมูลโดยพิจารณาว่าจะเปิดเผยแบบประจำปีหรือควรใช้ช่วงเวลาใด
• พิจารณาว่าควรเปิดเผยข้อมูลแบบรวมหรือแต่ละบริษัท
การวัดผลและติดตาม (Measuring and monitoring progress)
• พิจารณากรอบและมาตรฐาน ESG ที่เหมาะสมกับบริษัทในการวัดผล ESG
• ติดตามและสื่อสารผลการปฏิบัติให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ
การใช้ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Using compensation to create incentives)
• เชื่อมโยงผลตอบแทนของผู้บริหารกับการปฏิบัติด้าน ESG พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบกับการปฏิบัติโดยบริษัทอื่นๆ
• จัดทำเมตริกที่เหมาะสมกับบริษัทเพื่อประเมินผลงานของผู้บริหาร
อ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่ ESG Oversight : The Corporate Director’s Guide, March 2022 โดย PwC
เขียนโดย วารุณี ปรีดานนท์ ที่ปรึกษาด้านการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน ESG และ GRC
|