ผู้นำระดับต้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ความมั่นใจของ CEO ลดลง
ผู้นำระดับต้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ความมั่นใจของ CEO ลดลง
จากสถิติพบว่า การบริหารจัดการผู้นำระดับต้นที่ไม่ดี ทำให้ความเชื่อมั่นของ CEO สั่นคลอด
บทความฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในบทความจาก CEO Leadership Report 2023 ที่จัดทำโดย DDI ซึ่งจะประกอบด้วย 6 บทความที่กล่าวถึงผลกระทบจากผู้นำในระดับต่าง ๆ ขององค์กรที่มีต่อ CEO ซึ่งจะสะท้อนไปถึงการวางกลยุทธ์และความสำเร็จในการบริหารองค์กรของ CEO โดยรายงานฉบับนี้เกิดจากการวิเคราะห์ผลของข้อมูลที่รวบรวมจาก CEO 529 คน ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล 1,827 คน จากกว่า 10 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก และนำเสนอในมุมมองของ CEO และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังผู้เตรียมความพร้อมสู่ความสำเร็จอย่าง CHRO รวมถึงความสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ CHRO เพื่อวางแนวทางการเป็นผู้นำ พร้อมร่วมสร้าง Talent ที่มีความสามารถที่สำคัญกับองค์กรต่อไปในอนาคต
เมื่อหมดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำระดับต้น (Frontline Managers) CEO จะเริ่มมองโลกในแง่ร้ายมากขึ้น
โดยปกติแล้ว CEO มีความมั่นใจในความสามารถของบริษัทในการรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ทัศนคติของพวกเขามีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างมากเมื่อพิจารณาจากปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ ความมั่นใจในกลุ่มผู้นำระดับต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของการรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ขององค์กร เมื่อมีพนักงานที่มีประสบการณ์สูงปลดเกษียณหรือลาออกเพื่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ CEO จึงกลัวว่า ผู้นำระดับต้นที่ขาดประสิทธิภาพไม่ได้รักษาองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อองค์กรของพนักงานเหล่านั้นไว้ก่อนที่พวกเขาจะลาออก และอาจเป็นไปได้ว่า CEO เชื่อว่า ผู้จัดการนั้นมีส่วนในการผลักดันให้พนักงานที่มีคุณค่าเหล่านี้ออกจากองค์กร เนื่องจากองค์กรหลายแห่งยังคงต้องต่อสู้เพื่อป้องกันกับปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) แม้กระทั่งในองค์กรที่ CEO มีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำระดับต้นเป็นอย่างมาก ผู้จัดการเหล่านั้นก็ไม่ได้แสดงมุมมองด้านบวกต่อความท้าทายต่าง ๆ เช่นกัน โดยจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าขณะที่ CEO มีความมั่นใจในการส่งเสริมวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Inclusive Culture) มีเพียง 24% ของผู้จัดการระดับต้นเท่านั้นที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมองค์กรของพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่า CEO ส่วนใหญ่จะกล่าวว่าพวกเขาสามารถป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงานได้ แต่มีเพียง 27% เท่านั้นที่กล่าวว่าองค์กรของตนมุ่งมั่นที่จะสร้างสุขภาวะ (Well-being) ในองค์กร
เมื่อพิจารณาจากความเชื่อมั่นของ CEO ที่มีต่อความท้าทายทางธุรกิจ พบว่า CEO รู้สึกยังไม่พร้อมต่อเทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ มากนัก จึงทำให้องค์กรมักพึ่งพาผู้จัดการระดับต้นที่มีทักษะและความรู้สูงในการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี AI และด้วยเหตุนี้เอง มุมมองของซีอีโอที่มีต่อผู้นำระดับต้น จึงเป็นหนึ่งในตัวแปรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความมั่นใจของซีอีโอ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามองคุณภาพของผู้นำระดับต้นอย่างไร
CEO มีความเชื่อมั่นอย่างชัดเจนว่า กลยุทธ์ทางธุรกิจของตนจะไม่บรรลุผลหากปราศจากผู้นำระดับต้นที่มีทักษะ ดังนั้น CEO ควรทำงานร่วมกันกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มีความประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเพื่อพลิกสถานการณ์ด้วยการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำของผู้จัดการในองค์กร
ในบทความฉบับต่อไปเราจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้นำระดับกลางที่มีผลต่อเสถียรภาพของผู้นำองค์กร
จากบทความของ: CEO Leadership Report 2023 โดย DDI
|